SEO คืออะไร ?


   SEO คืออะไร SEO (เอสอีโอ) ย่อมาจาก Search Engine Optimization แปลเป็นไทยก็คือ เครื่องมือช่วยในการค้นหา การทำ SEO เป็นการจัดทำ ปรับปรุงเว็บไซต์หรือเว็บเพจ เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน ด้วยวิธีการธรรมชาติหรือที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย [2] ซึ่งผ่านทางเป้าหมายของคำค้นหาที่ต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การทำการตลาดผ่านระบบค้นหา หรือ Search Engine Marketing (SEM)

เอสอีโอเป็นการปรับปรุงเว็บไซต์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ ในเรื่องของผลลัพธ์การค้นหาด้วยคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) โดยเน้นให้ผลของคำที่ค้นหา ปรากฏอยู่ในส่วนของ "ผลการค้นหาธรรมชาติ" (natural search result หรือ organic search result) ซึ่งโดยทั่วไปจะแสดงในส่วนของผลลัพธ์ทางด้านซ้ายมือของเว็บเสิร์ชเอนจิน เวลาที่คนเข้ามาค้นหาในเว็บเสิร์ชเอนจิน เช่นที่ กูเกิล ยาฮู หรือ บิง ด้วยคำสำคัญที่ต้องการค้นหาแล้ว จะปรากฏลิงก์ของเว็บไซต์เพื่อทำให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหา

การทำเอสอีโอนั้นจะประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ปัจจัยภายใน (SEO onpage) และ ปัจจัยภายนอก (SEO offpage) ในส่วนของการปรับแต่งภายในนั้น ก็คือทุก ๆ อย่างที่เราสามารถควบคุมจัดการเองได้ภายในเว็บไซต์ของเรา เช่น การปรับแต่งหัวเรื่องของเว็บเพจ การปรับปรุง-เพิ่มคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ในหน้าเว็บไซต์ การจัดการโครงสร้างภายในของเว็บไซต์ และการใช้ meta tag เป็นต้น (แต่ในปัจจุบันเว็บเสิร์ชเอนจินเริ่มให้ความสำคัญ meta tag น้อยลงแล้ว (แต่ก็ยังมีความสำคัญอยู่) โดยเฉพาะ meta keyword[3]) ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยภายนอกคือการจัดการภายนอกเว็บไซต์ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้วก็คือ การหาเว็บไซต์ที่สามารถเชื่อมโยงหรือลิงก์เข้ามาสู่เว็บไซต์ที่เราต้องการจัดทำเอสอีโอ

การสร้างเว็บเพจโดยการใช้เทคนิคเอสอีโอนั้น ไม่ได้หมายถึงการสร้างเนื้อหาที่เป็นที่ชื่นชอบต่อเสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงผู้เยี่ยมชม ซึ่งวิธีการทำเอสอีโอนั้น อาจจะมีการเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโค้ดของเว็บไซต์, การนำเสนอ, โครงสร้างของเว็บไซต์ และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำเอสอีโอ ก็คือเนื้อหาที่มีประโยชน์ และจะต้องเป็นเนื้อหาต้นฉบับที่ไม่ได้ทำการคัดลอกหรือลอกเลียนมาจากเว็บไซต์อื่นใด

เราสามารถใช้โปรแกรมตรวจสอบอันดับในกูเกิ้ล (Google) ได้หลายโปรแกรม 1 ในโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่ายคือ โปรแกรม Free Monitor for Google สามารถหา Keyword ได้หลาย Keyword พร้อมๆกัน

เนื้อหาจาก: Wikipedia


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น